B-Slim Model
แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
วิธีสอนแบบ B-SLIM เป็นรูปแบบหนึ่งของการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองเพื่อมุ่งเน้นการสื่อสารโดยอาศัยหลักการและแนวคิดทฤษฎีพัฒนาการเชาวน์ปัญญาของพีอาเจต์(Piaget)ทฤษฎีพัฒนาการเชาวน์ปัญญาของวิก็อทสกี้ (Vygotsky) และทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของบรูนเนอร์ (Discovery Aproach) ซึ่งOlenka Bilashเป็นผู้ออกแบบวิธีการสอน(B-Slim Overview.)จุดมุ่งหมายของวิธีสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร(Communicative Language Teaching)มุ่งให้ผู้เรียนใช้ภาษาที่เรียนในการสื่อสารทำความเข้าใจระหว่างกัน
สุมิตรา อังวัฒนกุล (2540 : 17–21) กล่าวถึงการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารว่าการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเป็นแนวคิดที่เกิดจากความตระหนักถึงความจริงที่ว่าความรู้ความสามารถทางด้านศัพท์ ไวยากรณ์ และโครงสร้างทางภาษาเพียงอย่างเดียวไม่สามารถช่วยให้ผู้เรียนใช้ภาษาที่เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมในการสื่อสารกับผู้อื่น การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารเป็นการใช้ภาษาระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าวิธีสอนที่ทำให้ผู้เรียนสามารถนำภาษาไปใช้ในการสื่อสารได้จริง (Actual Communication)
ขั้นตอนการสอนแบบ B-SLIM
ธูปทอง กว้างสวาสดิ์ (2544 : 24-30) ได้สรุปไว้ว่ากิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวสื่อสารมีกิจกรรมที่หลากหลาย แต่กิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจ คือการสอนภาษาที่สองของ บิลาช Bilash’s Second Language Instructional Model หรือ B-SLIM Model. ประกอบไปด้วย 5 ส่วน ดังนี้
1. ขั้นวางแผนและการเตรียม (Planning and Preparation) ขั้นนี้ครูจะเลือกกิจกรรมและเนื้อหาให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและความสนใจของผู้เรียนนอกจากนั้นครูต้องจัดเตรียมสื่อและอุปกรณ์ ที่จำเป็นเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ สื่อต้องน่าสนใจและสอดคล้องกับเนื้อหา และควรเป็นสื่อที่เป็นของจริง
2. ขั้นทำความเข้าใจตัวป้อนหรือข้อความรู้ใหม่ (Comprehensible Input) ขั้นนี้ครูต้องอธิบายความรู้ใหม่ ข้อมูลหรือตัวป้อนใหม่ โดยตั้งอยู่บนฐานความรู้เดิมของผู้เรียน ครูสามารถให้ตัวป้อนเหล่านี้ ในการที่นักเรียนจะเข้าใจหรือเกิดการเรียนรู้ โดยการขยายความ อธิบายเพิ่มเติม บิลาช ได้จำแนกตัวป้อนด้านความรู้ออกเป็น 9 ชนิดดังนี้
2.1 การรับรู้ภาษา (Language Awareness) บิลาชและทูลาซิวิคซ์ กล่าวถึงการรับรู้ทางภาษาว่า การรับรู้ภาษาเกี่ยวข้องกับเรื่องทักษะทางภาษา ทัศนคติ การเรียนรู้และการใช้ภาษา สิ่งเหล่านี้ผู้สอนต้องบูรณาการเข้าในกิจกรรมการเรียนการสอนและสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้เรียน
2.2 การออกเสียง (Pronunciation) เป็นส่วนสำคัญของการพูด และเป็นทักษะที่ยากสำหรับผู้เรียนภาษาต่างประเทศก่อนที่ผู้เรียนจะสามารถพูดได้เป็นประโยค เขาต้องออกเสียงคำได้ก่อน การออกเสียงควรเน้นความคล่องและจังหวะ การขึ้นเสียงสูงต่ำ ตามบริบทและสถานการณ์
2.3 ศัพท์ (Vocabulary) สามารถแยกออกเป็น 2 ชนิด คือ Active Vocabulary หมายถึง คำศัพท์ที่ผู้เรียนเข้าใจความหมายออกเสียงได้ถูกต้องและใช้การพูดและเขียนได้ Passive Vocabulary หมายถึง คำศัพท์ที่ผู้เรียนรู้ความหมายและเข้าใจเมื่อพบคำนั้น ในรูปประโยคหรือข้อความ แต่ไม่สามารถใช้พูดและเขียนได้ คำศัพท์ในการสอนแต่ละครั้งต้องไม่มากหรือน้อยเกินไป และต้องสอนจากศัพท์ที่ใกล้ตัว หรือคำศัพท์เพื่อการดำรงชีวิต (Survival Vocabulary) หมายถึง ศัพท์ที่ผู้เรียนใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น ศัพท์เกี่ยวกับ สัตว์ คำถาม คำทักทาย
2.4 ไวยากรณ์ (Grammar) การสอนหลักไวยากรณ์ในปัจจุบันมีแนวโน้มจะยึดหลักการสอนตามแนวสื่อสาร
2.5 สถานการณ์และความคล่องแคล่ว (Situation/Fluency) การเรียนรู้ภาษาที่สอง (Second Language-SL) และภาษาต่างประเทศ (Foreign Language FL) หมายถึง การพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาได้หลากหลายตามบริบทและสถานการณ์ได้คล่องแคล่ว
2 .6 วัฒนธรรม (Culture) วัฒนธรรมสามารถแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ซีใหญ่ (Big “C”) หมายถึง ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ วรรณคดี ศิลปะดนตรี ซีเล็ก (Small c) หมายถึง ขนบธรรมเนียมประเพณี ลักษณะนิสัย การแต่งกาย อาหาร การใช้เวลาว่าง การเรียนภาษาต่างประเทศ คือการเรียนวัฒนธรรมต่างประเทศ ซึ่งไม่สามารถแยกภาษาออกจากวัฒนธรรมได้ การสอนวัฒนธรรมครูควรสอนในรูปของกระบวนการพบปะสังสรรค์มากกว่าที่จะบอกให้รู้ข้อเท็จจริงทางวัฒนธรรม ครูต้องจัดกิจกรรมเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
2.7 กลวิธีการเรียนรู้ (Learning Strategy) กลวิธีการเรียนรู้ หมายถึง การกระทำพฤติกรรม ขั้นตอน และเทคนิคเฉพาะในการเรียนภาษาที่สองและภาษาต่างประเทศ เช่น การหาผู้ช่วยในการฝึกการสนทนาเพื่อพัฒนาทักษะพูด การใช้เทคนิคปรับปรุงปัญหาในการเรียนภาษาของตัวผู้เรียนเอง ซึ่งมีวิธีการเรียนที่ต่างกัน กลวิธีการเรียนมีความสำคัญเพราะเป็นเครื่องมือสำหรับการใช้ภาษาในการปฏิสัมพันธ์ การจะเลือกเทคนิคที่มีความคล้ายคลึงกัน และเลือกซ้ำบ่อยครั้งและจะใช้ภาษาในการสื่อสารได้ไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นครูจำเป็นต้องรู้และเข้าใจถึงกลวิธีที่หลากหลายและประสบผลสำเร็จ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
2.8 ทัศนคติ (Attitude) เป็นองค์ประกอบที่บ่งบอกถึงความเชื่อว่าผู้เรียนมีทัศนคติที่แตกต่างต่อสิ่งต่อไปนี้ คือ ภาษาเป้าหมาย (Target Language) ผู้พูดภาษาเป้าหมาย (Target Language Speaker) ค่านิยมสังคมทางการเรียนภาษาเป้าหมาย ทัศนคติเหล่านี้มีผลต่อความสำเร็จทางการเรียนภาษาที่สอง การมีทัศนคติด้านบวกต่อภาษาเป้าหมาย และวัฒนธรรมของภาษานั้นมีความสำคัญต่อผู้เรียน เพราะทัศนคติบวกย่อมเป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนอยากปฏิสัมพันธ์กับเจ้าของภาษา นอกจากนั้นทัศนคติด้านบวกยังส่งผลให้ผู้เรียนเลือกใช้กลวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย อันจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาการเรียนรู้ด้านการฟัง อ่าน และเขียนได้อย่างรวดเร็ว จะเห็นได้ว่าทัศนคติสำคัญมากในการเรียนภาษาที่สอง ครูควรจำไว้เสมอว่าการแก้ไขทัศนคตินั้น ไม่สามารถทำได้ในเวลาอันสั้น ต้องใช้เวลาและเทคนิคที่หลากหลาย
2.9 ทักษะ (Skill) หมายถึง ทักษะฟัง พูด อ่าน และเขียน และยังรวมไปถึงทักษะอื่นๆ เช่น ทักษะการแก้ปัญหา การค้นคว้าวิจัย การหาความรู้ด้วยตนเอง การเรียนร่วมกับผู้อื่น
2.9.1 ทักษะการฟัง (Listening) ทักษะการฟังถือว่าเป็นทักษะแรกในการสื่อสาร ถ้าฟังไม่รู้เรื่องก็จะไม่สามารถพูดโต้ตอบได้ ดังนั้นครูจำเป็นต้องออกแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะฟัง นูนัน และแลมป์ แนะนำว่า สิ่งสำคัญที่ครูจำเป็นต้องรู้ก่อนที่จะเตรียมกิจกรรม คือ การสอนทักษะฟัง ควรคำนึงถึงสถานการณ์หรือบริบท กล่าวคือ เลือกเนื้อหา ครูควรออกแบบกิจกรรมฝึกการฟังที่หลากหลายและน่าสนใจ เช่น ครูให้นักเรียนฟังเทปแล้ววาดภาพ เป็นต้น
2.9.2 ทักษะการพูด (Speaking) ในการออกแบบกิจกรรมเพื่อเสริมทักษะพูดครูต้องดูว่ากิจกรรมนั้นต้องเริ่มจากง่ายไปหายาก โดยเริ่มจากกิจกรรมที่ครูควบคุมให้ความช่วยเหลือ พร้อมทั้งมีรูปแบบและตัวอย่างให้นักเรียน กิจกรรมเหล่านี้ เรียกว่า กิจกรรมภายใต้การควบคุม (Conversation) เช่น ในช่วงIntake-Using It ก่อนที่ครูจะให้นักเรียนฝึกสนทนาครูต้องมีแบบการสนทนา (Conversation Matrix) หรือ Dialogue ให้นักเรียนหลังจากนั้นจึงให้นักเรียนทำกิจกรรมที่ยากขึ้น เช่น บทบาทสมมุติ การเลียนแบบการอภิปราย ในช่วง Intake-Using It การออกแบบกิจกรรมจากง่ายไปหายากเป็นการลดความวิตกกังวล (Anxiety) ของผู้เรียน
2.9.3 ทักษะการอ่าน (Reading) ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่เกี่ยวกับทักษะการอ่าน ครูต้องจัดกิจกรรมก่อนการอ่าน (Preceding Activity) เช่นการพูดคุยหรืออภิปราย ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่สัมพันธ์กับเรื่องที่จะอ่าน หลังจากนั้นเป็นการแจ้งจุดประสงค์การอ่านว่า หลังจากการอ่านแล้วนักเรียนต้องได้อะไรบ้าง เช่น ตอบคำถาม อภิปรายกับเรื่องที่อ่าน สิ่งทีสำคัญที่สุดคือ ครูต้องแนะนำคำศัพท์หรือโครงสร้างใหม่ก่อนที่จะให้นักเรียนทำกิจกรรม กิจกรรมสำหรับพัฒนาทักษะการอ่านจัดได้ทั้งกิจกรรมเดี่ยว คู่ กลุ่มทั้งชั้น ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของเนื้อหาที่อ่าน
2.9.4 ทักษะการเขียน (Writing) บิลาชย้ำว่า ทักษะการเขียนเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนภาษาที่สอง การเรียนรู้การเขียนไม่ใช่ที่เกิดได้โดยธรรมชาติ เหมือนการพูดสิ่งที่พูดบางครั้งผู้เรียนไม่สามารถเขียนได้ บิลาชได้ออกแบบการสอนเขียนเรียกว่า แบบ (Form) เทคนิค“แบบ” นี้ บิลาชออกแบบจากง่ายไปหายากเพื่อลดสิ่งที่เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ (Affective Filter) ซึ่งได้แก่ เจตคติ แรงจูงใจ ความวิตกกังวล
3. ขั้นกิจกรรมเพื่อความเข้าใจและฝึกทักษะ (Intake Activity) ขั้นนี้ หมายถึง ช่วงเวลาที่ผู้เรียนรู้ เนื้อหาหรือตัวป้อน (Input) ผู้สอนพึงระลึกเสมอว่า ผู้เรียนไม่สามารถเข้าใจข้อมูล สาร หรือตัวป้อนทั้งหมดที่ผู้สอนป้อนในขั้นแรก ครูจึงจำเป็นต้องจัดกิจกรรมในขั้นนี้เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสทำสองประการคือ ประการแรก ครูต้องจัดกิจกรรมเพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจตัวป้อน เรียกว่า กิจกรรมเพื่อความเข้าใจ (Intake - Getting)กิจกรรมเพื่อความเข้าใจนี้จะใช้เวลาจนกว่าครูจะแน่ใจว่านักเรียนเข้าใจ Input ครูอาจจะออกแบบ 4-5 กิจกรรม แล้วแต่ความยากง่ายของตัวป้อน กิจกรรมเพื่อความเข้าใจเป็นกิจกรรมที่ง่ายต่อการปฏิบัติมีตัวอย่างแบบแผน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนลดความกังวลในการปฏิบัติ ประการที่สอง หลังจากที่นักเรียนเข้าใจตัวป้อนแล้ว ครูต้องออกแบบกิจกรรมที่ยากและซับซ้อนมากขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสฝึก เรียกว่า กิจกรรมฝึกใช้ภาษา (Intake – Using It) กิจกรรมฝึกใช้ภาษาเป็นกิจกรรมเพื่อการสื่อสารและเป็นธรรมชาติมากกว่ากิจกรรมเพื่อความเข้าใจ (Getting It Activity)
4. ขั้นผล (Output) กิจกรรมขั้นนี้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ภาษานอกห้องเรียนทั้งทักษะ ฟัง พูด อ่านและเขียน ลักษณะกิจกรรมขั้นนี้เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์และส่วนมากเป็นกิจกรรมเดี่ยว (Individual Activity) เช่น โครงงาน การเขียนไดอารี่ เรียงความ เรื่องสั้น เป็นต้น
5. ขั้นประเมินผล (Evaluation) ขั้นการสอนนี้ครูรวบรวมข้อมูลต่างๆจากการสังเกตหรือซักถามผู้เรียนในขั้นต่างๆเพื่อต้องการทราบปัญหาต่าง ๆ และแก้ไขปัญหาในการสอนครั้งต่อไป ขั้นนี้เป็นขั้นการประเมินผลการเรียนของนักเรียน ครูอาจใช้การประเมินทักษะตามสภาพจริง (Authentic Assessment) และการสอบเก็บคะแนนปลายภาคเรียน
B-Slim ModelB-SLIM: Bilash's Success-Guided Language Instructional Model
B-SLIM is a planning model for second language teaching in classroom settings. Dr. Olenka Bilash, a professor at University of Alberta, has presented a cycle of planning, teaching and evaluating for teachers to consider in a language education program. BSLIM consists of five parts of understanding instructions for a lesson.
As we have seen in several of the case studies, many teachers are unaware of how to provide their students with the structure and support they need in order to be successful in their learning. Structure and support go hand in hand and are therefore referred to simultaneously. These terms refer to what the teacher must consider for the learners to successfully complete the task.
Planning and preparation is the first element of B-SLIM. This stage shows not only HOW and WHAT TO prepare but also perspectives of understanding language learners.
The "Giving it " stage begins when the teacher enters the classroom. It consists of ways to make what is taught (vocabulary, structure, culture. . . ) comprehensible . In this stage, this model shows how to put into practice research from cognitive psychology, such as Miller´s magical Number of 7 +/- 2, Gardner´s Multiple Intelligences, cognitive capacity and cognitive load and others.
As a stage of practice to be able to use the target language, "Intake" comes after "Giving it" "Intake" has two categories of types of activities. If the activity requires less high level thinking in learners´ mind, it is called "Getting it" activity, for example repetitions, mimic and drills.
The other type of activities is called "Using it" activity. It triggers a higher level of thinking, in other words creativity of language use.
The next part of B-slim is named "Proving it". In this stage, the activity becomes more authentic and the learners show spontaneous language use in a meaningful context or a project.
Although found at the end of the continuum "Assessing it" means that teachers assess both the progress of the learners and the effect of their instruction throughout every class. Assessing student interest, progress and competency makes it possible to adjust and improve the instruction that will take place later, so B-slim becomes a cycle of instruction of a language. Assessing it appears not only at the end of a set of a language course but also during the four stages that have been shown above.
Why use B-SLIM?
If you know B-SLIM, you will be able to clearly see what you need to do in the next lesson. The stages of B-SLIM, help to provide most of the things that language teachers should know and think about, so you will be sure to start an action to move on to the next stage. Think about the names of the parts of BSLIM just like the names of railway stations.
If you understand the elements of the parts, you can clearly explain, "why you teach like that" to your co-workers, your students, their parents and yourselves. It is just like introducing your town to tourists on the street.
What are the theoretical underpinnings of the B-SLIM model?
Cognitive Science (Piaget, Vygotsky, Gagne) (We organize knowledge of different types into schema through mental processes. As learners who are active participants we require scaffolded instructional material that utilizes demonstrations, illustrative examples and corrective feedback to maximize memory retention.)
Constructivism (Bruner) (We construct our own understanding of the world by generating our own rules and mental models to make sense of our experiences.)
Developmentalism (Ryle, Schwitzgebel) (We learn concepts and dispositions in a gradual way frequently passing through periods of being "in between" genuine understanding and failure to understand.)